แบบฝึกความสัมพันธ์

DSC07327

บัตรข้อสอบ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สาระ   การอ่าน

มาตรฐานการเรียนรู้  ท.1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวชี้วัด   9. ตีความและประเมินค่าแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างหลากหลาย

ระดับพฤติกรรมที่วัด
(  )  รู้-จำ         (  ) เข้าใจ            (  ) นำไปใช้        (  ) วิเคราะห์      (  )  สังเคราะห์   ( √ ) ประเมินค่า

ระดับความยาก

(  )  ง่ายมาก      (  ) ง่าย             (  √ )  ปานกลาง    (  )  ยาก            (  )  ยากมาก

ข้อสอบ/ตัวเลือก

อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้แล้วเลือกคำตอบที่เกี่ยวข้อกับบทประพันธ์ที่กำหนดจากหมวด ก   ข   ค  และ  ง  ให้ถูกต้อง ทั้ง 4 หมวด (หมวดละ 1 คะแนน)

อ่านคำประพันธ์ต่อไปนี้แล้วเลือกคำตอบที่เกี่ยวข้อกับบทประพันธ์ที่กำหนดจากหมวด ก   ข   ค  และ  ง  ให้ถูกต้อง ทั้ง 4 หมวด (หมวดละ 1 คะแนน)

เพื่อนกิน   สิ้นทรัพย์แล้ว                 แหนงหนี

หาง่าย   หลายหมื่นมี                       มากได้

เพื่อนตาย  ถ่ายแทนชี-                  วาอาตม์

หายาก   ฝากผีไข้                           ยากแท้จักหา

1. โคลงกระทู้

2. โคลงสี่สุภาพ

3. กลอนสุภาพ

4. กลอนดอกสร้อย

1. บังคับครุ-ลหุ

2. บังคับเอก-โท

3. บังคับวรรณยุกต์

4. บังคับสัมผัสนอก

1. คำแนะนำ

2. คำอธิบาย

3. คำชี้แจง

4. คำสั่งสอน

1. การทำมาหากิน

2. การหาคู่ชีวิต

3. การคบเพื่อน

4. การเจ็บป่วย

เฉลย   1   2    4   3

ข้าวรวงค้อม

580672_493344774038220_1569556241_n

ข้าวรวงเต็ม อ่อนน้อม ค้อมสู่หล้า                 ทอดกายา โน้มต่ำไว้ ให้ทั้งผอง
หากคุณค่า มากล้น ชนใฝ่ปอง                      พร้อมประคอง ประโยชน์แท้ แก่ทุกคน
เปรียบคนดี ที่เก่งกล้า และสามารถ             ชาญฉลาด การงาน ในทุกหน
ยิ่งอ่อนน้อม ถ่อมตัว ให้ปวงชน                    ซึ้งกมล คนเชิดชู และบูชา
ธรรมชาติ วาดไว้ ให้ได้เห็น                          เฉกดั่งเช่น แนวคิด ปริศนา
จะเลือกเป็น ข้าวรวงลีบ ด้อยราคา               หรือล้นค่า ข้าวรวงค้อม น้อมที่ตน

 นักเรียนอ่านคำประพันธ์นี้แล้วตอบคำถามต่อไปนี้
1. ควรตั้งชื่อคำประพันธ์นี้อย่างไร…………………………….
2. คำประพันธ์นี้เป็นคำประพันธ์ชนิดใด………………………
3. การเปรียบเทียบคนกับรวงข้าวเป็นโวหารชนิดใด
………………………………
4.ข้าวรวงลีบเปรียบได้กับบุคคลอย่างไร……………………
5. ข้าวรวงค้อมเปรียบได้กับบุคคลอย่างไร………………….
6. จงหาสำนวนที่สอดคล้องกับบทประพันธ์นี้ 1 สำนวน
………………………………………………………….
7.ถ้าให้เลือกข้าวรวงลีบกับข้าวรวงค้อม นักเรียนจะเลือกข้าวชนิดใด เพราะเหตุใด
………………………………………………………………………………………………………..
8.ผลดีและผลเสียของคนที่เปรียบเป็นรวงข้าวทั้งสองแบบให้นักเรียนยกตัวอย่างเปรียบเทียบ
คนประเภทข้าวรวงลีบ  ผลดี……………………………………………………………………………..
ผลเสีย…………………………………………………………………………..
คนประเภทข้าวรวงค้อม ผลดี……………………………………………………………………………
ผลเสีย………………………………………………………………………….

วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม

ที่มาของภาพ  http://www.dmc.tv/images/Picture%20Nich/Book-tito,pramahachanok111.jpg
“เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้…สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็น ในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ที่มาของภาพ http://www.dmc.tv/images/Picture%20Nich/DekwithBack111.jpg

วัตถุประสงค์ของวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังนี้
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณ ค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติ ไทยตลอดไป
4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิ ผลยิ่งขึ้น
5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

กำหนดสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555


นักเรียนชั้น ม.1-ม.3 เตรียมตัวสอบกลางภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555 นะคะ
กำหนดสอบวันที่ 30 และ 31 กรกฎาคม 2555 วิชาที่ครูลัฐิการับผิดชอบ มีดังนี้ค่ะ
ชั้น ม.1 ภาษาไทย รหัส ท 21101 (คะแนนสอบ 20 คะแนน)ตัวชี้วัดที่ใช้สอบกลางภาคมีดังนี้ค่ะ
การอ่าน
๒. จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน
๓. ระบุเหตุและผลและข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
การเขียน
การเขียน
๑. คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
๒. เขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม และสละสลวย
หลักและการใช้ภาษา
๑. อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม
๑. สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน
ชั้น ม.2 ภาษาไทย รหัส ท 22101 (คะแนนสอบ 20 คะแนน)ตัวชี้วัดที่ใช้สอบกลางภาคมีดังนี้ค่ะ
การอ่าน
๒. จับใจความสำคัญ สรุปความ และอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน
๓. เขียนผังความคิดเพื่อแสดงความเข้าใจในบทเรียนต่าง ๆ ที่อ่าน
การเขียน
๑. คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด
๒. เขียนบรรยายและพรรณนา
หลักการใช้ภาษาไทย
๑. สร้างคำในภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม
๑. สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้น
ชั้น ม.3 ภาษาไทย รหัส ท 23101 (คะแนนสอบ 20 คะแนน)ตัวชี้วัดที่ใช้สอบกลางภาคมีดังนี้ค่ะ
การอ่าน
๒. ระบุความแตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
๓. ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
การเขียน
๒. เขียนข้อความโดยใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องตามระดับภาษา
๓. เขียนชีวประวัติหรืออัตชีวประวัติโดยเล่าเหตุการณ์ ข้อคิดเห็น และทัศนคติในเรื่องต่าง ๆ
หลักการใช้ภาษาไทย
๑. จำแนกและใช้คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม
๑. สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่นที่อ่านในระดับที่ยากยิ่งขึ้น
๒. วิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน